E- Payment การจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์กับภาษี

E- Payment การจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์กับภาษีจะเตรียมตัวอย่างไรดี?

ที่เก็บไปอยู่แล้ว 7% ยังต้องเสียเพิ่มอีกหรือ เตรียมตัวอย่างไรบ้าง มีข้อควรระวังตรงไหน

มาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องการเรียกเก็บภาษีกัน ทุกคำถามและคำตอบกับการเรียกเก็บภาษีของผู้ขายออนไลน์

 กรมสรรพากรมีประกาศเกี่ยวกับการทำเรื่องตรวจสอบข้อมูลบัญชีธนาคาร โดยมีชื่อว่า กฎหมายภาษีอีเพย์เมนต์

สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การกำหนดให้ผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e- wallet (ผู้ค้าขายออนไลน์) ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากร ไม่ว่าในรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ พร้อมทำรายงานส่งสรรพากรภายในเดือน มีนาคม พ.ศ. 2563 โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • มียอดฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชี ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม
  • ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอน

ปัจจุบันนี้ผู้ค้าขายออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนในรูปบริษัท (ร้านค้าทั่วไป) จะต้องยื่นแบบแสดงเงินได้บุคคลธรรมดา

โดยกรอกรายได้ ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการค้าขาย และยื่นภาษี 2 ครั้ง คือ

  1. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 คือ ช่วงนี้ ถึงวันที่ 9 เม.ย.62 กรณียื่นแบบฯ ออนไลน์ และยื่นภาษีกลางปี
  2. ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ช่วงเดือน ก.ค.- ก.ย. ซึ่งเป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีแรก

สามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร แน่นอนที่เมื่อถึงเวลายื่นภาษี ไม่ได้หมายความว่าคุณจะถูกเรียกเก็บภาษีทันที จะจ่ายก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติ เข้าหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น หากคุณยังมีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่ทางกรมสรรพากรกำหนด อย่ากังวล เพราะทุกคนต้องยื่นภาษีเพื่อแสดงความโปร่งใสระบบการเงิน การบัญชีของตน หากว่าคุณได้รับคำเชิญจากกรมสรรพากร อย่าเพิ่งตื่นตระหนก เพียงคุณแจกแจงรายละเอียดรายได้ของคุณพร้อมหลักฐานให้ครบถ้วนเท่านั้น

จ่ายภาษีร้านออนไลน์ ยังต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อีกหรือไม่?

VAT หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีอีกหนึ่งรูปแบบที่ไม่เกี่ยวกับรายได้ของเรา แต่จะอยู่ในการซื้อ- ขายทุกสิ่งอย่างในชีวิต เครื่องอุปโภค บริโภค ของกิน ของใช้ ค่าบริการต่าง ๆ โดยทุกการใช้จ่ายรัฐฯ จะหักส่วนนี้ออกไป เพื่อนำเงินส่วนนี้เข้าคลังของประเทศ สามารถเห็นและตรวจสอบได้จากท้ายใบเสร็จที่ได้ใช้จ่ายหัวข้อภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % นั่นเอง

กรณีที่เราเป็นร้านค้าที่ต้องการขายสินค้า วิสัยการตั้งราคาสินค้า สามารถคิดราคาสินค้าของเรา โดยบวกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปอีก 7% เข้าไปในสินค้าและบริการรวบเป็นราคายอดสุทธิได้

สรุปโดยเข้าใจง่าย กฎหมายฉบับนี้เป็นเพียงการจัดส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรเท่านั้น หากเดิมทีผู้มีรายได้มีการยื่นภาษีได้ถูกต้องอยู่แล้วกฎหมายฉบับนี้ก็แทบจะไม่ส่งผลกระทบใด ๆ เลย แต่หากเดิมเป็นผู้ที่หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี ทั้ง ๆ ที่รู้ตัวอยู่แล้วว่าควรยื่นภาษีแต่ไม่ยื่น กฎหมายฉบับนี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้กรมสรรพากรตรวจสอบข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นใคร ก็ต้องยื่นภาษีเพื่อส่งเรื่องให้สรรพากรตรวจสอบเพื่อความโปร่งใสของธุรกิจและความถูกต้องของตัวเรา ควรเตรียมตัวทำรายรับ– รายจ่ายของเราให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเมื่อถึงเวลาต้องยื่นจริง

ลาลาหรีดเป็นบริษัทผู้ประกอบกิจการเกี่ยวกับพวงหรีด เป็นศูนย์กลางจัดหาพวงหรีดเพื่อจัดส่งความรู้สึกดี ๆ ให้กับคุณลูกค้าได้ทั่วประเทศ จัดส่งฟรีในพื้นที่ให้บริการ ราคาสินค้าของลาลาหรีดนั้น เป็นราคาสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้ว ไม่มีจ่ายเพิ่ม ถูกที่สุด ดีที่สุด และตรวจตามความต้องการของคุณลูกค้ามากที่สุด พร้อมทั้งมีโปรโมชันลดราคาหากทำการสั่งซื้อหน้าเว็บไซต์ และทุกการสั่งซื้อสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกของรางวัลมากมาย ติดตามข่าวสาร และข้อเสนอดี ๆ ได้ที่ www.lalareed.com

 

ลาลาหรีดสนับสนุนให้บัญชีทุกคนโปร่งใส


บทความความที่เกี่ยวข้อง

พวงหรีด  “ลฤก”

พวงหรีด “ลฤก” by AGORA DESIGN MAT

พวงหรีด   "ลฤก"   by AGORA DESIGN MAT   ชื่อ  "ลฤก"  มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า "ระลึก" ...

พวงหรีด

กว่าจะมาเป็น “พวงหรีด”

กว่าจะมาเป็น “พวงหรีด” หลาย ๆ ท่าน อาจจะนึกภาพ “พวงหรีด” คือตัวแทนของความรู้สึกที่แสดงถึงความอาลั...

โลกออนไลน์

โลกออนไลน์

โลกออนไลน์ ปัจจุบันนี้สื่อสังคมออนไลน์มีความสำคัญและเข้ามามีบทบาทแทบจะทุกอย่างในการดำรงชีวิต...